อย. คือชื่อย่อของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภค จากผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการเข้าไปควบคุมมาตรฐานของสินค้าให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานปลอดภัย อย.จึงเป็นเหมือนเครื่องหมายที่แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค คือ ผู้ผลิตไร้สามัญสำนึกบางราย มีการปลอมแปลงเครื่องหมายและหมายเลข อย. โดยการนำเลขหมาย อย.จากผลิตภัณฑ์อื่น มาแปะบนผลิตภัณฑ์ของตนเอง ซึ่งถือว่ามีเจตนาไม่ดีและผิดกฏหมายอย่างแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคพึ่งกระทำเพื่อความปลอดภัย คือตรวจเช็คเลข อย. บนฉลากผลิตภัณฑ์
วิธีการตรวจสอบเลข อย.
– เข้าไปที่เว็บไซต์ >> http://164.115.28.123/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx
หรือ http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx
– กรอกหมายเลข อย. (โดยจะใส่-หรือไม่ใส่ก็ได้) ลงในสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ และกดค้นหา
– หรือกรอกชื่อผลิตภัณฑ์ ลงในสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ และกดค้นหา
ถ้าเลข อย. ถูกต้อง ระบบจะแสดงรายการออกมา ซึ่งจะมีข้อมูลดังนี้
- ประเภทผลิตภัณฑ์
- ใบสำคัญ (เลข อย.)
- ชื่อผลิตภัณฑ์ไทย – อังกฤษ
- ชื่อผู้รับอนุญาต
- Newcode (เลขอ้างอิงใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์)
- สถานะ
เครื่องหมาย อย. สำคัญแค่ไหน?
การที่ผลิตภัณฑ์มีเครื่องหมาย อย. หมายถึง เครื่องหมายยืนยันว่าผู้ผลิตได้ยื่นตรวจผลิตภัณฑ์นั้น และผ่านตามเกฌฑ์และมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทั้งนี้ทั้งนั้นถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ จะมีเครื่องหมาย อย. แล้วก็ตาม ผู้บริโภคเองยังต้องพิจารณาหลายปัจจัยเพิ่มด้วย ทั้งการแพ้, การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ และการใช้งานให้ถูกวิธี
ยังมีผลิตภัณฑ์อีกมาก โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอาง ที่จดทะเบียน อย. เพื่อความน่าเชื่อถือ แต่แอบใส่ส่วนผสมอื่นลงไป หรือมีปริมาณส่วนผสมไม่ตรงกับที่แจ้ง
ตรวจสอบรายชื่อครีมอันตรายได้ที่ >> รายชื่อครีมอันตราย
หากพบเห็นหรือผลิตภัณฑ์ใส่สารอันตราย ส่งตรวจสารได้ที่ : สสนส.สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ